วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เลือกรองเท้าเดินทาง .. ให้เหมาะกับการใช้งาน

เลือกรองเท้าเดินทาง .. ให้เหมาะกับการใช้งาน


มีผู้ผลิตรองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินทางออกมามากมายหลายชนิด

ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน

เช่น รองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าระยะสั้น

หรือการเดินเที่ยวไปตามเส้นทางที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้

โดยไม่ต้องมีการเข้าไปพักแรมในป่า (Day Hiker)

ก็ย่อมจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างจากรองเท้าเดินป่าที่ใส่สำหรับการเดินแบกเป้หนัก

เข้าไปในเขตป่าดงดิบหรือพื้นที่ทุรกันดารอย่างแน่นอน

โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของรองเท้าเดินทางออกได้เป็น 6 ประเภท คือ


Mountaineering Boots

Backpacking

Off Trail

On Trail

Trail Runners

Sandals

ซึ่งการที่เราจะเลือกชนิดของรองเท้าที่จะใช้ได้นั้น

แรกสุดเราก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจก่อนว่าจะใช้สำหรับการเดินทางในลักษณะใด

Mountaineering Boots

... รองเท้าประเภทนี้เหมาะสำหรับนักเดินป่าที่ชอบปีนยอดเขาสูง

ยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม หรือบริเวณที่อากาศหนาวจัด

จนแม่น้ำเป็นน้ำแข็ง

(เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้รองเท้าประเภทนี้ในเมืองไทยแน่นอน)

รองเท้าชนิดนี้จะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง

สมัยก่อนจะทำจากหนัง และใช้หนังเย็บริมขอบรองเท้า

และสำหรับประเภทที่เดินบนหิมะยังมีหนามทำจากเหล็ก

เอาไว้ยึดกับพื้นผิวอีกด้วย

รองเท้าจะสูงเหนือข้อเท้า

และจะมีพื้นรองเท้าที่หนาเป็นพิเศษ


ปัจจุบัน ผู้ผลิตรุ่นใหม่ (Koflach, Asolo, Etc.) ได้หันมาใช้พลาสติกหุ้มแทน

แต่ถึงแม้ว่ารองเท้ารุ่นใหม่จะสามารถใช้ได้ดีบนหิมะหรือน้ำแข็งที่สูงชัน

แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกสบายกับผู้ใส่เลย

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตชาวยุโรปเช่น La Sportiva

ได้หันกลับมาใช้หนังสำหรับการผลิตรองเท้าอีกครั้ง

และได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ที่เรียกว่า Vibers ขึ้นมาแทน

โดยรองเท้ารุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 5 ปอนด์

ส่วนราคาของรองเท้าแบบนี้จะมีราคาสูงมาก


- Mountaineering Boots แบบสำหรับสตรี


Backpacking or Regular

รองเท้าประเภท Backpacking นี้

เหมาะสำหรับการเดินป่าในสภาพพื้นผิวที่ค่อนข้างจะทรหด

ลำบากลำบนหรือทุลักทุเลเอามากๆ

และเหมาะสำหรับการเดินแบกของที่ค่อนข้างหนักมากๆ

ในเส้นทางที่ใช้เวลาในการเดินหลายๆ วัน

รองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่หนาและแข็ง

และมักมีน้ำหนักมาก

จึงไม่เหมาะสำหรับการเดินป่าแบบง่ายๆ

ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ

ส่วนมากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้า Backpacking จะเป็นหนังทั้งหมด

หรือเป็นวัสดุสังเคราะห์คุณภาพสูงอย่างกอร์เท็กซ์เท่านั้น

เพราะจะช่วยในการเกาะยึดพื้นผิวเป็นอย่างดี

และช่วยในการทรงตัวเป็นเยี่ยม


นอกจากนี้ รองเท้าประเภทจะมีความสูงเหนือข้อเท้า มีการบุหนังด้านในป้องกันนิ้วเท้า

และมีคุณสมบัติในการกันน้ำอย่างดีอีกด้วย

จึงสามารถจะใช้เดินลุยในพื้นที่ที่เป็นดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะ

หรือในการเดินทางที่จำเป็นจะต้องข้ามหรือลุยน้ำบ่อยๆ

และหากซื้ออุปกรณ์ห่อหุ้มเท้ามาเพิ่มเติมจะทำให้สามารถใช้ลุยในพื้นที่เหล่านี้ได้ดีขึ้น

แต่หากต้องการจะใช้สำหรับการเดินป่าหรือปีนเขาในพื้นที่ที่หนาวเย็นมากๆ

อาจจะต้องใช้รองเท้าที่ผลิตมาสำหรับการลุยหิมะ (Mountaineering Boots) โดยเฉพาะ


Off Trail

รองเท้า Off Trail สามารถใช้ได้กับการเดินทางในแทบจะทุกพื้นผิว ทุกสภาพอากาศ และทุกภูมิประเทศ

แต่เนื่องจากรองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่ค่อนข้างแข็งและหนามากกว่ารองเท้าประเภทอื่น

และมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะแข็งแรงและหนักพอสมควร

ทำให้ไม่ค่อยเหมาะนักหากจะนำไปใช้เดินป่าในทางเดินง่ายๆ เช่นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

แต่จะเหมาะสำหรับการเดินเข้าป่าในเส้นทางที่ไม่ได้มีการทำทางเอาไว้ให้

หรือในการเดินป่าที่จะต้องมีการแกะรอยหรือหาทางเดินเอง



โดยทั่วไปรองเท้า Off Trail จะทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่กันน้ำได้อย่างดี

เช่น กอร์เท็กซ์ (Gore-Tex)

รองเท้าประเภทนี้จะมีการยึดเกาะพื้นผิวที่ดีเยี่ยม และช่วยในการทรงตัวหรือการเดินทางได้เป็นอย่างดี

ส่วนมากแล้วมักจะมีความสูงเหนือข้อเท้าขึ้นไป

มีการบุหนังเสริมด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันนิ้วเท้า

และบางรุ่นอาจจะมีการทำขอบรองเท้าจากวัสดุกันน้ำอีกด้วย

ถ้าใช้งานอย่างถูกวิธีจะกันน้ำเข้ารองเท้าได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

(หากมีการเดินลุยน้ำที่ไม่สูงกว่ารองเท้า) และสามารถเดินลุยโคลนหรือลำธารตื้นๆ ได้ดี



และในรองเท้าบางรุ่นที่มีการออกแบบและเย็บหุ้มรองเท้าอย่างดีแล้ว

จะช่วยให้ความอบอุ่นกับเท้าได้เป็นอย่างดี


On Trail

รองเท้าประเภทนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่ารองเท้า Trail Runner

หรือจะเรียกว่าพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นจาก Trail Runner ก็ได้

ซึ่งจะใช้สำหรับการเดินป่าที่ต้องมีการผจญภัยมากขึ้น

กว่าการเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติอย่างง่าย

อาจจะเป็นการเดินแบกเป้ขนาดกลางเข้าไปค้างแรมสักหนึ่งคืน

หรือสำหรับการผจญภัยในพื้นที่ที่ต้องมีการปีนป่ายพอสมควรก็ได้

วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าก็มีหลายประเภท เช่น หนัง วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุสังเคราะห์กันน้ำ เป็นต้น

พื้นรองเท้าจะแข็งกว่าแบบ Trail Runner แต่จะมีความยึดเกาะพื้นผิวได้ดีกว่า

ส่วนความสูงของรองเท้าก็มักจะอยู่ที่ระดับข้อเท้าหรือสูงกว่าเล็กน้อย

และอาจจะมีการบุหนังด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือการเกิดบาดแผลที่นิ้วเท้าได้อีกด้วย


ถึงแม้ว่ารองเท้า On Trail นี้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

แต่ก็สามารถการเปียกชื้นภายในจากโคลนหรือจากการเดินข้ามลำธารตื้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ รองเท้า On Trail ยังให้ความอบอุ่นกับเท้าได้พอสมควร


โดยทั่วไป รองเท้าแบบ Trail Runner จะใช้ในการเดินป่าบนเส้นทางง่ายๆ

เส้นทางที่ได้มีการทำทางเดินเอาไว้ให้อย่างดีแล้ว เส้นทางศึกษาธรรมชาติตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ

หรือจะเป็นการขี่จักรยานเสือภูเขาเข้าป่าแล้วไปแวะเดินสำรวจระยะสั้นๆ ที่ปลายทางก็ได้

ส่วนมากจะใช้กับการเดินป่าที่ไม่ต้องเข้าไปค้างแรมข้างใน

เป็นการเดินแบบไปเช้ากลับเย็น รองเท้าประเภทนี้ส่วนมากจะมีความสูงประมาณข้อเท้าหรือต่ำกว่าเล็กน้อย

และทำจากทั้งวัสดุสังเคราะห์และหนัง

จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เดินป่าในพื้นที่ที่ค่อนข้างจะทรหด

หรือในบริเวณที่จะต้องมีการปีนป่ายไปตามหินผา

เพราะจะทำให้ข้อเท้าพลิกหรือได้รับบาดเจ็บจากคมหินได้ง่ายๆ

รองเท้า Trail Runners สำหรับสตรี

นอกจากนี้ โดยมากแล้วรองเท้าประเภทนี้จะไม่กันน้ำและไม่ค่อยจะยึดเกาะพื้นนัก

อาจจะสร้างความลำบากให้เราเวลาต้องใส่เดินลุยโคลนหรือเดินลุยข้ามน้ำ

และยังไม่สามารถให้ความอบอุ่นกับเท้าได้มากนักอีกด้วย

ดังนั้น รองเท้าประเภทนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับการเดินป่าที่ใช้เวลานานกว่าหนึ่งวัน

ในเส้นทางที่ไม่ใช่เส้นทางศึกษาธรรมชาติอย่างง่ายๆ


Sandals

รองเท้าอีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ในการเดินป่าได้เช่นกันคือรองเท้าแบบ Sandals

หรือรองเท้ารัดส้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ รองเท้าแตะแต่มีสายรัดส้นเท้าเอาไว้เพื่อให้ไม่หลุดง่าย

และเพิ่มความสะดวกคล่องตัวในการเดินมากยิ่งขึ้น

ผู้ผลิตบางรายได้คิดค้นออกแบบวัสดุที่ใช้ทำพื้นรองเท้าให้สามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี

และไม่มีการเหม็นอับเท้าอีกด้วย



รองเท้าประเภทนี้ ปกติจะใส่เดินในเมืองทั่วๆ ไป หรือการเที่ยวแบบสบายๆ ก็ได้

และมักจะนำไปใช้ใส่เดินป่าในเส้นทางที่เดินอย่างง่ายๆ ได้อีกด้วย

หรือบางคนอาจจะชอบใส่เดินขึ้น-ลงเขาเนื่องจากไม่ทำให้นิ้วเท้าเจ็บ

จากการเสียดสีหรือกระแทกกับด้านในของรองเท้า



แต่อย่างไรก็ดี รองเท้าประเภทนี้จะให้ความปลอดภัยกับเท้าน้อยมาก

สามารถทำให้เท้าพลิกได้ง่าย หรือหากต้องเดินลุยในเส้นทางที่ค่อนข้างลำบาก

หรือรกแล้วอาจจะทำให้เกิดบาดแผลกับเท้าได้ง่ายๆ









ขอบคุณบทความจากบล็อกคุณเหยี่ยวแมงปอ

ภาพจาก internet


วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อคิด 10 ข้อในการเลือกซื้อกระเป๋าเดินทาง

ข้อคิด 10 ข้อในการเลือกซื้อกระเป๋าเดินทาง

1. ล้อ
ส่วนนี้เป็นส่วนที่อ่อนแอที่สุดที่จะเสียหายในการขนส่ง สายการบินทั่วไปจะปฏิเสธความรับผิดชอบสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับล้อ และผู้ผลิตหลายรายมักยกเว้นล้อในข้อรับประกันของบริษัท ล้อที่ดีที่สุดควรเป็นล้อยางทั้งลูกชนิดที่เป็นล้อแบบหรือเป็นลูกกลม ที่มีตลับลูกปืน ล้อควรฝังอยู่ภายในกระเป๋า โดยเฉพาะกระเป๋าที่ไว้ใต้เครื่องบินเพราะจะป้องกันการเสียของล้อได้ สำหรับกระเป๋าที่นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน ควรดูขนาดให้ถูกตามกฎเกณฑ์ของสายการบิน

2. หูหิ้ว
หูหิ้วแบบยืดหดควรติดตั้งภายในกระเป๋าได้เป็นดี หรือแบบพับแนบตัวกระเป๋าอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความเสียหายของเสาคันชัก แม้ว่าคันชักที่ติดตั้งภายนอกจะทำให้มีพื้นที่เก็บสัมภาระด้านในมากขึ้นก็ ตาม เพราะคันชักมักจะเสียหาย จากแรงกระแทกจนทำให้ยืดหดคันชักไม่ได้ แต่ในกรณีที่เป็นกระเป๋าหิ้วติดตัวก็ไม่จำเป็นต้องให้คันชักมีเสาอยู่ด้านใน ก็ได้เพราะความเสี่ยงจากการเสียหายมีน้อยกว่ามาก
3. Denier (หน่วยวัดความแข็งแรงของผ้า)
Denier เป็นหน่วยของการวัดขนาดเส้นใยที่ใช้ในการทอผ้า dinier ยิ่งมากจะทำให้ผ้าหนักขึ้น สำหรับวัสดุที่นำมาทอเป็นผ้าก็ให้ความแข็งแรงต่างกันด้วย เช่น polyester 1800 denier แข็งแรงกว่า Polyester 1200 denier แต่แข็งแรงน้อยกว่า ballistic nylon 1050 denier โดยทั่วไปตามสายการบินจะไม่ยอมรับความเสียหายกับกระเป๋าเดินทางที่ทำด้วยผ้า 600-700 denier
4. การรับประกัน
กระเป๋าทุกยี่ห้อจะรับประกันก็ต่อเมื่อมีความเสียหายที่เกิดจากการผลิต เท่านั้น เช่น ซิปผิดปกติ รอยเย็บเบี้ยว หูลากหลุดหรือน็อตหลุด การรับประกันส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ผลิต ไม่ใช่เป็นของร้านที่ขายดังนั้นไม่ควรไปเชื่อกับการรับประกันของร้านมากนัก
5. การซื้อกระเป๋าเป็นการลงทุนไม่ใช่ความสิ้นเปลือง
การคุ้มทุนในการลงทุนซื้อกระเป๋าขึ้นอยู่กับอายุของการใช้งานกระเป๋า ถ้าคุณจ่ายเงินสองเท่าเพื่อซื้อกระเป๋าที่มีอายุใช้งานนานขึ้น 4 ปี อย่าลืม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย
6. ไม่ต้องกังวลว่ากระเป๋าใบใหญ่กว่าจะหนักกว่า
สิ่งของที่คุณจะบรรจุลงในกระเป๋าอาจมีน้ำหนักประมาณ 20-30 กก. แต่น้ำหนักกระเป๋าที่ใหญ่เล็กต่างกัน 4-6 นิ้ว อาจมีน้ำหนักต่างกันเพียงครึ่งกิโลเท่านั้น และคุณจะรู้ว่าถ้ากระเป๋าไม่พอคุณต้องซื้อกระเป๋าอีกใบที่น้ำหนักอย่างต่ำก็ ประมาณ 3-4 กก.
7. กระเป๋าใหญ่ก็ไม่ใช่ว่าดีเสมอไป
คนทั่วไปจะบรรจุสิ่งของลงในกระเป๋าขนาด 26 นิ้วได้พอดี ดังนั้นก็ไม่ควรใช้กระเป๋าขนาดใหญ่กว่านี้ โดยเฉพาะถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการยกของหนัก เช่น ปวดหลัง หรือปวดแขน
8. อย่าไปยึดติดกับยี่ห้อ
คนทั่วไปจะคุ้นเคยกับชื่อ Samsonite และ american tourister เพราะเป็นเจ้าแรก ๆ ที่ขายมานาน แต่ก็ยังมีหลายยี่ห้อที่คุณภาพก็ใช้ได้ เช่น travelpro eminent echolac delsey หรือแม้แต่ Blue light, Valentino, Miracle, Dandy ลองเลือกการใช้งานต่าง ๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจควักกระเป๋าซื้อ
9. ซื้อกระเป๋ากับร้านที่มีความรู้ด้านกระเป๋า
เพราะกระเป๋าเดินทางเดี๋ยวนี้ไม่ใช่มีหน้าที่แค่บรรจุสัมภาระเท่านั้น อย่าไปกลัวที่จะถามคนขายเกี่ยวกับความทนทาน หน้าที่การทำงานต่าง ๆ การบริการหลังการขาย
http://www.geocities.com/winwos02/10tips.html

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับการจัดกระเป๋าเดินทาง

เคล็ดลับการจัดกระเป๋าเดินทาง


สำหรับหลายคน การจัดกระเป๋าเดินทางดูจะเป็นเรื่องที่วุ่นวายน่าปวดหัว และพลอยทำให้รู้สึกหมดสนุก

กับการเที่ยวพักผ่อนไปเสียเฉย ๆ ทั้งที่ความจริงแล้ว การจัดกระเป๋าเดินทางไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างที่คิด

ต่อไปนี้ คือ ข้อแนะนำเรื่องวิธีการจัดกระเป๋าที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจตลอดการเดินทาง



เลือกกระเป๋าให้เหมาะสม

กระเป๋าเดินทางมีหลายแบบหลายสไตล์ แต่ละแบบก็เหมาะกับการใช้สอยที่แตกต่างกันไป ดังนั้น

จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานที่และประโยชน์การใช้สอย เช่น ถ้าจะต้องเดินทางไกลหลายวัน

ก็ควรเลือกกระเป๋าเดินทางแบบหีบที่ทำด้วยวัสดุแข็งแรงทนทาน มีล้อเลื่อนและเชือกจูงกระเป๋า

เพื่อความสะดวกในการโยกย้าย



แต่ถ้าจะเดินทางแบบสมบุกสมบัน เช่น ลุยป่าเขาลำเนาไพร ก็ควรเลือกเป้จะดีกว่า เพราะจะช่วยทำให้

ทะมัดทะแมงขึ้น หรือหากโปรแกรมที่จะไปเป็นประเภทชายทะเลหรือหมู่เกาะ การเลือกใช้กระเป๋าแบบ

ถือหรือเป้ที่ทำด้วยวัสดุกันน้ำ ก็ดูจะเข้าท่าที่สุด



สำหรับผู้ที่ต้องการจะไปซื้อสินค้าจากจีน ควรนำกระเป๋าเปล่าใบใหญ่ๆติดตัวไปด้วย จะได้ขนมาได้เเบบสบายใจ

เเต่สำหรับ ผู้ประกอบการขายส่ง ที่ต้องการซื้อของครั้งละมากๆ ควรติดต่อ บริษัทขนส่งล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหาการขนส่งล่าช้าได้ครับ



จดรายการสิ่งของเครื่องใช้

ก่อนที่จะจัดกระเป๋าเดินทาง ควรจดรายการสิ่งของเครื่องใช้ที่จะจัดเตรียมไปด้วยทั้งหมดลงในกระดาษ

เพื่อเตือนความจำ แล้วตรวจดูให้ครบ โดยอย่าลืมคำนึงถึงจำนวนวันที่จะเดินทางด้วย



จัดกระเป๋า : เตรียมไปเฉพาะของจำเป็น

หลักสำคัญในการจัดกระเป๋าทุกครั้งก็คือ ของทุกชิ้นที่จะพกไปด้วยต้องมีประโยชน์และจำเป็นเท่านั้น

คุณอาจนำของที่คิดว่าจำเป็นทั้งหมดมาเรียงกัน แล้วก็คัดออกให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น



เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

ก็ควรเลือกไปเฉพาะเท่าที่จำเป็นก็พอโดยอาจเลือกเสื้อผ้าและรองเท้าให้มีสีเข้ากันเพียงสีเดียว

หรือสองสีพื้น ๆ เพื่อจะสลับสับเปลี่ยนกันใช้ได้

เครื่องใช้ส่วนตัว

หากเป็นการเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัวหรือเพื่อนสนิท คุณอาจตกลงใช้ของบางอย่างร่วมกันกับผู้อื่น

ก็ได้ เช่น สเปรย์ฉีดผม ครีมโกนหนวด ที่เป่าผม ยาสระผม หรือครีมอาบน้ำ ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้กระเป๋าเดินทาง

ของคุณเบาลงไปได้เยอะทีเดียว



จัดเรียงของลงกระเป๋า

ถ้ากระเป๋าที่เตรียมไปเป็นกระเป๋าแบบหีบ ควรจะวางรองเท้าไว้ที่ขอบกระเป๋า ตามด้วยกางเกงขายาว

โดยปล่อยขากางเกงไว้นอกกระเป๋า จากนั้น ใส่เสื้อเชิ้ต เสื้อยืดตามลงไป แล้วจึงเอาขากางเกงที่ปล่อยไว้ข้างนอก

มาคลุมเสื้อผ้าทั้งหมด ส่วนของกระจุกกระจิกอื่น ๆ ให้ใส่แทรกไว้



แต่ถ้ากระเป๋าที่เตรียมไปเป็นแบบถือหรือสะพาย หลักการจัดวาง ก็คือ เอาของหนักอยู่ข้างล่างสุด แล้วเอาของเบา ๆ

อยู่บนสุด ที่สำคัญคือ อย่าใส่แน่นเกินไป เพราะจะทำให้เสื้อผ้ายับมากกว่าเดิม ในการเดินทางครั้งหน้า

ลองใช้วิธีเหล่านี้ดู แล้วคุณจะพบว่า การจัดกระเป๋าเดินทางไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากเลย